Site icon Calendar

ปฏิทินจีนจันทรคติกับสุริยคติ คืออะไร

ปฏิทินจีนจันทรคติกับสุริยคติ คืออะไร

ชาวจีนส่วนใหญ่คุ้นเคยกับปฏิทินในระบบจันทรคติของจีน ซึ่งอ้างอิงจากการเคลื่อนไหวของดวงจันทร์ โดยเฉพาะวันเพ็ญและวันแรม

อย่างไรก็ดี หมอดูโชคชะตาและผู้เชี่ยวชาญศาสตร์ฮวงจุ้ยจะใช้ปฏิทินที่เรียกว่าปฏิทินเซียะหรือเซี่ยะลี่ ซึ่งสร้างขึ้นโดยอิงจากความเชื่อถือของจีนที่มีต่อปฏิทินสุริยคติ ดังนั้น ในการเขียนแผนผังฮวงจุ้ยหรือการวิเคราะห์ชะตาชีวิตของใครสักคน เราจึงใช้วันที่ในระบบสุริยคติเป็นหลัก

ควรใช้ปฏิทินแบบใดดี?

ปฏิทินเซียะหรือเซียะหลี

ว่ากันว่าระบบการนับเวลาของจีนถูกคิดค้นโดยชาวเซียะ (ประมาณ 2500 ปีก่อนคริสตกาล) โดยอ้างอิงจากวงจรการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ นอกจากนี้ยังเรียกปฏิทินนี้ว่าปฏิทินชาวนา เซียะลี่เป็นปฏิทินที่มีประโยชน์ใช้สอยหลากหลาย หากดูจากแง่การใช้งาน ปฏิทินนี้ช่วยให้ทราบการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลและกิจกรรมทางการเกษตรต่าง ๆ นอกจากจะเป็นเครื่องบันทึกระยะเวลาแล้ว ปฏิทินนี้ยังใช้ในการทำนายโชคชะตา (คือโชคชะตาแบบจตุสดมภ์) และการทำนายฮวงจุ้ย (คือดาวบินหรือ “เฟยซิง”) ด้วย

ทั้งยาม วัน เดือน และปีจะแสดงออกมาในระบบกานจือคือกิ่งสวรรค์ 10 กิ่งและก้านดิน 12 ก้าน ซึ่งจะถูกตีความออกเป็น 5 ธาตุหรือ “อู่สิง” ได้แก่ ธาตุโลหะ ธาตุน้ำ ธาตุไม้ ธาตุไฟ และธาตุดิน กิ่ง (กาน) และก้าน (จือ) จะรวมกันเพื่อสร้างรอบวงจรแห่งกาลเวลา 60 ปี ซึ่งแต่ละรอบวงจรจะเริ่มขึ้นในปีเจี๋ยจื่อหรือปีชวดธาตุไม้

รอบวงจรในปัจจุบันเริ่มขึ้นในปี 2527 ซึ่งยังสัมพันธ์กับการเริ่มต้นยุค 7 (ซึ่งเป็นช่วงปลาย) ของฮวงจุ้ยดาวบินสามช่วง (ซันหยวนเฟยซิงเฟิงสุ่ย) ปี 2546 เป็นปีสิ้นสุดยุค 7 ซึ่งหมายถึงตลอดช่วง 20 ปีก่อนหน้านี้ ปี 2547 เป็นปีแห่งการเริ่มต้นยุค 8 ซึ่งจะยาวนานไปอีก 20 ปี จากนั้นก็เข้าสู่ยุค 9 ซึ่งจะสิ้นสุดลงในปีกุ๋ยไฮ่หรือปีกุนธาตุน้ำ และปีดังกล่าวยังเป็นปีแห่งการสิ้นสุดหนึ่งรอบ 60 ปีแห่งวงจรกานจืออีกด้วย

มีอะไรอยู่ในปฏิทินจีน?

เป็นที่พูดกันมากต่อมากในเรื่องปฏิทินโหราศาสตร์จีนและระบบการกะเกณฑ์และบันทึกช่วงเวลาของจีน ระบบการบันทึกเวลาที่ชาวจีนใช้เป็นการผสมผสานระหว่างปฏิทินจันทรคติและสุริยคติ หรือหากจะตั้งชื่อให้เหมาะสมก็คือปฏิทินสุริยจันทรคติ นั่นก็หมายความว่าเดือนต่าง ๆ เป็นตัวสะท้อนการเคลื่อนตัวของดวงจันทร์ ส่วนปีต่าง ๆ เป็นตัวสะท้อนการเคลื่อนไหวของดวงอาทิตย์

ปฏิทินโหราศาสตร์จีนที่มีมาแต่สมัยโบราณใช้เป็นเครื่องมือกำหนดเทศกาลประจำปีและกิจกรรมทางการเกษตรต่าง ๆ ในพื้นที่ชนบท โดยปกติ ชาวจีนจะทำกิจวัตรต่าง ๆ แล้วแต่เดือนตามระบบจันทรคติ ซึ่งจะมีวันข้างขึ้นข้างแรม หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ชุมชนการเกษตรและหมอดูดำเนินชีวิตตามเซียะลี่หรือปฏิทินเซียะซึ่งมีประโยชน์ในหลาย ๆ แง่ และเป็นตัวแทนปฏิทินสุริยคติแบบจีนนั่นเอง

การจะอธิบายว่าชาวจีนผสมผสานระบบทั้งสองเข้าไว้ด้วยกันอย่างไรให้เห็นภาพนั้น คงจะต้องมาดูกันว่าชาวจีนกำหนดวันเกิดอย่างไร นอกจากวันที่ตามปฏิทินสากล (ซึ่งเราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน) แล้ว ชาวจีนยังกำหนดวันเกิดตามวันที่ในระบบจันทรคติ รวมทั้ง “ปาจื้อ” (ลัคนาแปดอักขระ) ประจำตัวตามปฏิทินเซียะซึ่งอ้างอิงจากระบบสุริยคติ และสามารถนำมาใช้ในการทำนายโชคชะตาอีกด้วย

ในขณะที่เรายังอยู่ในรายละเอียดเรื่องนี้ มาดูแง่มุมที่น่าสนใจเกี่ยวกับแนวคิดเรื่อง “เหนียน” และ “ซุ่ย” ของจีนกันตามลำดับ ตามประเพณีจีน เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าชาวจีนจะนับอายุให้ “แก่กว่า” ปฏิทินสากลหนึ่งปี ทั้งนี้ก็เนื่องจากชาวจีนมีสิ่งที่ใช้อ้างอิงไม่เหมือนชนชาติอื่น ๆ คำว่า “เหนียน” เป็นคำที่ใช้พูดถึงปีซึ่งนับจากวันตรุษจีนปีหนึ่งไปถึงอีกปีหนึ่ง ขณะที่คำว่า “ซุ่ย” เป็นคำที่ใช้พูดถึงปีสากลนับจากวันที่ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรมากที่สุดในฤดูหนาวปีหนึ่งถึงอีกปีหนึ่ง เวลาถามเรื่องอายุ คนจีนจะหมายถึงจำนวน “ซุ่ย” ที่คนคนนั้นเคยผ่านมา ด้วยเหตุนี้ชาวจีนจึงพูดว่าอายุแก่ขึ้นอีกหนึ่งปีหลังจากที่ได้เฉลิมฉลองเทศกาลวันที่ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรมากที่สุดในฤดูหนาว หรือในภาษาจีนเรียกว่า “ตงจื้อ” ในเดือนธันวาคม

เทศกาลฤดูหนาวเป็นวันพิเศษที่คุณลักษณะแห่งความดำมืด เยือกเย็นของหยินจะอยู่ในช่วงที่ทรงพลังที่สุด แต่ก็ยังเป็นจุดเปลี่ยนผ่านที่เปิดทางให้กับแสงสว่างและความอบอุ่นอันเป็นมงคลของพลังหยางด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นช่วงเวลาของการมองโลกในแง่ดีและเฉลิมฉลอง เป็นช่วงที่สมาชิกทุกคนในครอบครัวอยู่พร้อมหน้ากัน ทราบหรือไม่ว่าเทศกาลคริสต์มาสก็เป็นการเฉลิมฉลองในช่วงที่ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรที่สุดในฤดูหนาวเช่นกัน

จากแง่มุมทางจันทรคติ (หยิน)

เดือนต่าง ๆ เรียงกันตามตำแหน่งของดวงจันทร์หรือระยะของดวงจันทร์ จากวันขึ้นหนึ่งค่ำไปจนถึงวันขึ้นสิบห้าค่ำไปจนเริ่มวันแรม วันแรกของเดือนคือวันที่วงจรใหม่ของดวงจันทร์เริ่มต้นขึ้น และวันที่ดวงจันทร์เต็มดวง (กลางเดือน) มักจะเป็นวันที่ 15 ทั้งสองวันข้างต้นเป็นวันสำคัญในระบบวงจรจันทรคติ ซึ่งจะเป็นวันที่ชาวจีนจะสวดมนต์ภาวนาและทำบุญทำทาน

ตัวอย่างวันเทศกาลตามระบบจันทรคติประจำปีที่ชาวจีนมักเฉลิมฉลองกันก็คือเทศกาลกลางฤดูใบไม่ร่วงหรือที่ภาษาจีนเรียกว่า “จงชิวเจี๋ย” ซึ่งจะฉลองกันในวันที่ 15 ของเดือนที่ 8 เพื่อให้ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำหรือวันเพ็ญพอดี เทศกาลที่สำคัญยิ่งอีกงานหนึ่งก็คือเทศกาลตรุษจีน ซึ่งจะเฉลิมฉลองกันในวันขึ้น 1 ค่ำ แต่เทศกาลนี้จัดอยู่ในหมวดของสุริยจันทรคติ เมื่ออ่านต่อไป คุณจะเข้าใจว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น

ตัวอย่างปฏิทินในระบบจันทรคติเพียงอย่างเดียวก็เช่นปฏิทินอิสลามที่ชาวมุสลิมใช้นั่นเอง

จากแง่มุมทางสุริยคติ (หยาง)

ชาวจีนตระหนักว่าวงจรในระบบสุริยคติจะทำให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ โดยธรรมชาติ ซึ่งเป็นตัวกำหนดความต้องการพวกผู้คนและเห็นได้ชัดว่าเป็นตัวควบคุมเสบียงอาหารในธรรมชาติ เมื่อเป็นสังคมเกษตรกรรมที่มีข้าวเป็นอาหารหลัก ชาวจีนจึงตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลเสมอเพื่อที่จะได้เตรียมตัวรับมือกับความแร้นแค้นในฤดูหนาวได้ล่วงหน้า ฉะนั้น ปฏิทินชาวนาหรือ “หนงลี่” จึงถูกคิดค้นขึ้นเพื่อให้ชาวนาหว่านไถและเก็บเกี่ยวผลผลิตในฤดูกาลหรือช่วงเวลาที่เหมาะสมของปีนั้น ๆ

และเพื่อจะกำหนดฤดูกาลออกเป็นช่วง ๆ จึงได้มีการวัดตำแหน่งของดวงอาทิตย์ในองศาต่าง ๆ จุดเปลี่ยนฤดูกาลคือ วันที่กลางวันยาวเท่ากับกลางคืนพอดีในฤดูใบไม้ผลิ คือวันที่ 21 มีนาคมซึ่งอยู่ที่ 0 องศา วันที่ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากโลกมากที่สุดในฤดูร้อนคือวันที่ 21 มิถุนายนซึ่งอยู่ที่ 90 องศา วันที่กลางวันยาวเท่ากับกลางคืนพอดีในฤดูใบไม้ร่วงคือวันที่ 23 กันยายน ซึ่งอยู่ที่ 180 องศา และวันที่ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากโลกมากที่สุดในฤดูหนาวคือวันที่ 22 ธันวาคม ซึ่งอยู่ที่ 270 องศา ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวข้างต้นยังถูกแบ่งออกเป็น 12 ช่วงย่อย ๆ ซึ่งแต่ละช่วงย่อยก็จะแบ่งออกเป็น 30 ช่วงย่อยลงอีก จากนั้นก็จะแบ่งช่วงดังกล่าวออกในรูปของช่วงสุริยคติ 24 ช่วง โดยแต่ละช่วงยาวนาน 15 ช่วงย่อย

ตัวอย่างเทศกาลตามธรรมเนียมในระบบสุริยคติที่ชาวจีนฉลองในฤดูหนาวก็คือเทศกาลฤดูหนาวหรือ “ตงจื้อ” ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 22 ธันวาคม (บางปีก็อาจเป็นวันที่ 21) ซึ่งก็คือวันที่ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากโลกมากที่สุดในฤดูหนาวนั่นเอง

ปฏิทินจาลาลีที่ชาวเปอร์เชียใช้คือปฏิทินในระบบสุริยคติ จึงถือเป็นปฏิทินสากล (หรือที่ในอดีตเรียกว่าปฏิทินของจูเลียสซีซาร์) ซึ่งเป็นปฏิทินที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลกในปัจจุบัน

จากแง่มุมทางสุริยจันทรคติ (หยินและหยาง)

ชาวจีนเฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลงของกาลเวลาด้วยการผสมผสานทั้งจันทรคติ (หยิน) และสุริยคติ (หยาง) ได้อย่างน่าสนใจ และที่มากกว่านั้นก็คือทำให้เกิดเป็นปฏิทินสุริยจันทรคติ (หยินหยางลี่) ซึ่งก็ขึ้นกับการสังเกตความเคลื่อนไหวจริง ๆ ของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ (รวมทั้งดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ซึ่งคุณจะได้อ่านต่อไป)

การจะทำให้ปีตามระบบจันทรคติและสุริยคติสอดคล้องกันอยู่เสมอนั้น จะต้องมี “เดือนอธิกสุรทิน) เพิ่มขึ้นมาเพื่อให้เกิด “ปีแห่งการข้ามผ่าน” ตามธรรมเนียมจีน ดังนั้นในปีแห่งการข้ามผ่านจึงมี 13 เดือน (คล้ายกับปีที่เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันนั่นเอง) จึงไม่น่าสงสัยเลยว่าเป็นปฏิทินที่มีวิธีการคิดคำนวณที่ยุ่งยากซับซ้อนมาก ปฏิทินจีนไม่ได้อ้างอิงจากการประมาณตามหลักคณิตศาสตร์เพียงอย่างเดียว

เทศกาลตรุษจีนเป็นตัวอย่างของเทศกาลในระบบสุริยจันทรคติ เนื่องจากเทศกาลนี้จะจัดขึ้นในวันที่กำหนดจากการพบกันครึ่งทางระหว่างช่วงในระบบจันทรคติและช่วงในระบบสุริยคติ การกำหนดวันตรุษจีนมีกฎเกณฑ์อยู่ 2-3 ประการด้วยกันคือ 1 ควรจะเป็นวันขึ้นหนึ่งค่ำครั้งที่ 2 หลังจากผ่านพ้นวันที่ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากโลกมากที่สุดในฤดูหนาวมาแล้ว 2. ควรจะเป็นวันขึ้น 1 ค่ำที่ใกล้กับวัน “หลีชุน” (จุดเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ) ตามระบบสุริยคติ 3. ควรจะเป็นวันขึ้น 1 ค่ำครั้งแรกหลังจากผ่านช่วง “ต้าหัน” (ความเหน็บหนาวสูงสุด) ตามระบบสุริยคติมาแล้ว

ปฏิทินของชาวบาบิโลน ปฏิทินฮิบรู และปฏิทินฮินดูล้วนเป็นปฏิทินในระบบสุริยจันทรคติทั้งสิ้น

จากแง่มุมของดาวพฤหัสบดี

การควบคุมดูแลดาวอื่น ๆ ในจักรวาล (เช่น ดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ ฯลฯ) นอกจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นถึงความสลับซับซ้อนของปฏิทินจีนได้เป็นอย่างดี ในที่นี้ การสำรวจวงโคจรของดาวพฤหัสบดียังแสดงให้เห็นแง่มุมทางวิทยาศาสตร์ของการปฏิบัติตามหลักฮวงจุ้ยและโหราศาสตร์จีนอีกด้วย เมื่ออ่านต่อไป คุณจะได้ค้นพบสาเหตุที่อยู่เบื้องหลังการสังเกต “ดาวที่มีอิทธิพล” ต่อฮวงจุ้ยประจำปีหรือที่รู้จักกันในนามดาวราหู

ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 5 และเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยจักรวาลเท่าที่มีการค้นพบมา ดาวพฤหัสบดีมีขนาดใหญ่กว่าดาวโลกมากกว่าหนึ่งพันเท่า ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวที่มีความสว่างเป็นอันดับที่ 3 บนท้องฟ้า เมื่อมองจากโลก ดาวพฤหัสบดีจะเคลื่อนที่ในทิศทางตรงข้ามกับทิศทางการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้นักดาราศาสตร์พบว่าโลกไม่ใช่จุดศูนย์กลางของการเคลื่อนไหวในระบบสุริยจักรวาล

นักดาราศาสตร์จีนสังเกตพบว่าดาวพฤหัสบดีโคจรรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบใช้เวลา 12 ปี ดังนั้นหนึ่งรอบ 12 ปีจึงมีความสัมพันธ์กับก้านดิน 12 ก้านหรือ 12 นักษัตรในจักรราศีจีนนั่นเอง กำหนดให้ปีชวดเป็นปีแรกในรอบวงโคจรของดาวพฤหัสบดี และปีกุนเป็นปีที่ 12 หรือปีสุดท้ายในรอบวงโคจรของดาวพฤหัสบดี

ชาวจีนเรียกดาวพฤหัสบดีว่า “สุ่ยซิง” หรือพระผู้เป็นเจ้าประจำปี ตำแหน่งของดาวพฤหัสบดียังเป็นตัวกำหนดทิศสถิตของดาวราหูหรือไท่ซุ่ยในปีนั้น ๆ ด้วย ผู้เชี่ยวชาญศาสตร์ฮวงจุ้ยจะระมัดระวังไม่ให้หันหน้าไปเผชิญกับดาวราหูเด็ดขาด เนื่องจาก “ท่าน” เป็นเสมือนอุปสรรคที่ไม่มีทางเอาชนะได้ เนื่องจากมีขนาดใหญ่โตมโหฬาร (ใหญ่กว่าโลกมากกว่า 1000 เท่า!) คำแนะนำนี้จึงถือเป็นคำแนะนำที่ดีมากทีเดียว

Exit mobile version