ปฏิทินจีนจันทรคติกับสุริยคติ คืออะไร

ฮวงจุ้ย

ปฏิทินจีนจันทรคติกับสุริยคติ คืออะไร

ชาวจีนส่วนใหญ่คุ้นเคยกับปฏิทินในระบบจันทรคติของจีน ซึ่งอ้างอิงจากการเคลื่อนไหวของดวงจันทร์ โดยเฉพาะวันเพ็ญและวันแรม

อย่างไรก็ดี หมอดูโชคชะตาและผู้เชี่ยวชาญศาสตร์ฮวงจุ้ยจะใช้ปฏิทินที่เรียกว่าปฏิทินเซียะหรือเซี่ยะลี่ ซึ่งสร้างขึ้นโดยอิงจากความเชื่อถือของจีนที่มีต่อปฏิทินสุริยคติ ดังนั้น ในการเขียนแผนผังฮวงจุ้ยหรือการวิเคราะห์ชะตาชีวิตของใครสักคน เราจึงใช้วันที่ในระบบสุริยคติเป็นหลัก

ควรใช้ปฏิทินแบบใดดี?

ปฏิทินเซียะหรือเซียะหลี

ว่ากันว่าระบบการนับเวลาของจีนถูกคิดค้นโดยชาวเซียะ (ประมาณ 2500 ปีก่อนคริสตกาล) โดยอ้างอิงจากวงจรการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ นอกจากนี้ยังเรียกปฏิทินนี้ว่าปฏิทินชาวนา เซียะลี่เป็นปฏิทินที่มีประโยชน์ใช้สอยหลากหลาย หากดูจากแง่การใช้งาน ปฏิทินนี้ช่วยให้ทราบการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลและกิจกรรมทางการเกษตรต่าง ๆ นอกจากจะเป็นเครื่องบันทึกระยะเวลาแล้ว ปฏิทินนี้ยังใช้ในการทำนายโชคชะตา (คือโชคชะตาแบบจตุสดมภ์) และการทำนายฮวงจุ้ย (คือดาวบินหรือ “เฟยซิง”) ด้วย

ทั้งยาม วัน เดือน และปีจะแสดงออกมาในระบบกานจือคือกิ่งสวรรค์ 10 กิ่งและก้านดิน 12 ก้าน ซึ่งจะถูกตีความออกเป็น 5 ธาตุหรือ “อู่สิง” ได้แก่ ธาตุโลหะ ธาตุน้ำ ธาตุไม้ ธาตุไฟ และธาตุดิน กิ่ง (กาน) และก้าน (จือ) จะรวมกันเพื่อสร้างรอบวงจรแห่งกาลเวลา 60 ปี ซึ่งแต่ละรอบวงจรจะเริ่มขึ้นในปีเจี๋ยจื่อหรือปีชวดธาตุไม้

รอบวงจรในปัจจุบันเริ่มขึ้นในปี 2527 ซึ่งยังสัมพันธ์กับการเริ่มต้นยุค 7 (ซึ่งเป็นช่วงปลาย) ของฮวงจุ้ยดาวบินสามช่วง (ซันหยวนเฟยซิงเฟิงสุ่ย) ปี 2546 เป็นปีสิ้นสุดยุค 7 ซึ่งหมายถึงตลอดช่วง 20 ปีก่อนหน้านี้ ปี 2547 เป็นปีแห่งการเริ่มต้นยุค 8 ซึ่งจะยาวนานไปอีก 20 ปี จากนั้นก็เข้าสู่ยุค 9 ซึ่งจะสิ้นสุดลงในปีกุ๋ยไฮ่หรือปีกุนธาตุน้ำ และปีดังกล่าวยังเป็นปีแห่งการสิ้นสุดหนึ่งรอบ 60 ปีแห่งวงจรกานจืออีกด้วย

มีอะไรอยู่ในปฏิทินจีน?

เป็นที่พูดกันมากต่อมากในเรื่องปฏิทินโหราศาสตร์จีนและระบบการกะเกณฑ์และบันทึกช่วงเวลาของจีน ระบบการบันทึกเวลาที่ชาวจีนใช้เป็นการผสมผสานระหว่างปฏิทินจันทรคติและสุริยคติ หรือหากจะตั้งชื่อให้เหมาะสมก็คือปฏิทินสุริยจันทรคติ นั่นก็หมายความว่าเดือนต่าง ๆ เป็นตัวสะท้อนการเคลื่อนตัวของดวงจันทร์ ส่วนปีต่าง ๆ เป็นตัวสะท้อนการเคลื่อนไหวของดวงอาทิตย์

ปฏิทินโหราศาสตร์จีนที่มีมาแต่สมัยโบราณใช้เป็นเครื่องมือกำหนดเทศกาลประจำปีและกิจกรรมทางการเกษตรต่าง ๆ ในพื้นที่ชนบท โดยปกติ ชาวจีนจะทำกิจวัตรต่าง ๆ แล้วแต่เดือนตามระบบจันทรคติ ซึ่งจะมีวันข้างขึ้นข้างแรม หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ชุมชนการเกษตรและหมอดูดำเนินชีวิตตามเซียะลี่หรือปฏิทินเซียะซึ่งมีประโยชน์ในหลาย ๆ แง่ และเป็นตัวแทนปฏิทินสุริยคติแบบจีนนั่นเอง

การจะอธิบายว่าชาวจีนผสมผสานระบบทั้งสองเข้าไว้ด้วยกันอย่างไรให้เห็นภาพนั้น คงจะต้องมาดูกันว่าชาวจีนกำหนดวันเกิดอย่างไร นอกจากวันที่ตามปฏิทินสากล (ซึ่งเราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน) แล้ว ชาวจีนยังกำหนดวันเกิดตามวันที่ในระบบจันทรคติ รวมทั้ง “ปาจื้อ” (ลัคนาแปดอักขระ) ประจำตัวตามปฏิทินเซียะซึ่งอ้างอิงจากระบบสุริยคติ และสามารถนำมาใช้ในการทำนายโชคชะตาอีกด้วย

ในขณะที่เรายังอยู่ในรายละเอียดเรื่องนี้ มาดูแง่มุมที่น่าสนใจเกี่ยวกับแนวคิดเรื่อง “เหนียน” และ “ซุ่ย” ของจีนกันตามลำดับ ตามประเพณีจีน เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าชาวจีนจะนับอายุให้ “แก่กว่า” ปฏิทินสากลหนึ่งปี ทั้งนี้ก็เนื่องจากชาวจีนมีสิ่งที่ใช้อ้างอิงไม่เหมือนชนชาติอื่น ๆ คำว่า “เหนียน” เป็นคำที่ใช้พูดถึงปีซึ่งนับจากวันตรุษจีนปีหนึ่งไปถึงอีกปีหนึ่ง ขณะที่คำว่า “ซุ่ย” เป็นคำที่ใช้พูดถึงปีสากลนับจากวันที่ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรมากที่สุดในฤดูหนาวปีหนึ่งถึงอีกปีหนึ่ง เวลาถามเรื่องอายุ คนจีนจะหมายถึงจำนวน “ซุ่ย” ที่คนคนนั้นเคยผ่านมา ด้วยเหตุนี้ชาวจีนจึงพูดว่าอายุแก่ขึ้นอีกหนึ่งปีหลังจากที่ได้เฉลิมฉลองเทศกาลวันที่ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรมากที่สุดในฤดูหนาว หรือในภาษาจีนเรียกว่า “ตงจื้อ” ในเดือนธันวาคม

เทศกาลฤดูหนาวเป็นวันพิเศษที่คุณลักษณะแห่งความดำมืด เยือกเย็นของหยินจะอยู่ในช่วงที่ทรงพลังที่สุด แต่ก็ยังเป็นจุดเปลี่ยนผ่านที่เปิดทางให้กับแสงสว่างและความอบอุ่นอันเป็นมงคลของพลังหยางด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นช่วงเวลาของการมองโลกในแง่ดีและเฉลิมฉลอง เป็นช่วงที่สมาชิกทุกคนในครอบครัวอยู่พร้อมหน้ากัน ทราบหรือไม่ว่าเทศกาลคริสต์มาสก็เป็นการเฉลิมฉลองในช่วงที่ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรที่สุดในฤดูหนาวเช่นกัน

จากแง่มุมทางจันทรคติ (หยิน)

เดือนต่าง ๆ เรียงกันตามตำแหน่งของดวงจันทร์หรือระยะของดวงจันทร์ จากวันขึ้นหนึ่งค่ำไปจนถึงวันขึ้นสิบห้าค่ำไปจนเริ่มวันแรม วันแรกของเดือนคือวันที่วงจรใหม่ของดวงจันทร์เริ่มต้นขึ้น และวันที่ดวงจันทร์เต็มดวง (กลางเดือน) มักจะเป็นวันที่ 15 ทั้งสองวันข้างต้นเป็นวันสำคัญในระบบวงจรจันทรคติ ซึ่งจะเป็นวันที่ชาวจีนจะสวดมนต์ภาวนาและทำบุญทำทาน

ตัวอย่างวันเทศกาลตามระบบจันทรคติประจำปีที่ชาวจีนมักเฉลิมฉลองกันก็คือเทศกาลกลางฤดูใบไม่ร่วงหรือที่ภาษาจีนเรียกว่า “จงชิวเจี๋ย” ซึ่งจะฉลองกันในวันที่ 15 ของเดือนที่ 8 เพื่อให้ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำหรือวันเพ็ญพอดี เทศกาลที่สำคัญยิ่งอีกงานหนึ่งก็คือเทศกาลตรุษจีน ซึ่งจะเฉลิมฉลองกันในวันขึ้น 1 ค่ำ แต่เทศกาลนี้จัดอยู่ในหมวดของสุริยจันทรคติ เมื่ออ่านต่อไป คุณจะเข้าใจว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น

ตัวอย่างปฏิทินในระบบจันทรคติเพียงอย่างเดียวก็เช่นปฏิทินอิสลามที่ชาวมุสลิมใช้นั่นเอง

จากแง่มุมทางสุริยคติ (หยาง)

ชาวจีนตระหนักว่าวงจรในระบบสุริยคติจะทำให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ โดยธรรมชาติ ซึ่งเป็นตัวกำหนดความต้องการพวกผู้คนและเห็นได้ชัดว่าเป็นตัวควบคุมเสบียงอาหารในธรรมชาติ เมื่อเป็นสังคมเกษตรกรรมที่มีข้าวเป็นอาหารหลัก ชาวจีนจึงตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลเสมอเพื่อที่จะได้เตรียมตัวรับมือกับความแร้นแค้นในฤดูหนาวได้ล่วงหน้า ฉะนั้น ปฏิทินชาวนาหรือ “หนงลี่” จึงถูกคิดค้นขึ้นเพื่อให้ชาวนาหว่านไถและเก็บเกี่ยวผลผลิตในฤดูกาลหรือช่วงเวลาที่เหมาะสมของปีนั้น ๆ

และเพื่อจะกำหนดฤดูกาลออกเป็นช่วง ๆ จึงได้มีการวัดตำแหน่งของดวงอาทิตย์ในองศาต่าง ๆ จุดเปลี่ยนฤดูกาลคือ วันที่กลางวันยาวเท่ากับกลางคืนพอดีในฤดูใบไม้ผลิ คือวันที่ 21 มีนาคมซึ่งอยู่ที่ 0 องศา วันที่ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากโลกมากที่สุดในฤดูร้อนคือวันที่ 21 มิถุนายนซึ่งอยู่ที่ 90 องศา วันที่กลางวันยาวเท่ากับกลางคืนพอดีในฤดูใบไม้ร่วงคือวันที่ 23 กันยายน ซึ่งอยู่ที่ 180 องศา และวันที่ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากโลกมากที่สุดในฤดูหนาวคือวันที่ 22 ธันวาคม ซึ่งอยู่ที่ 270 องศา ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวข้างต้นยังถูกแบ่งออกเป็น 12 ช่วงย่อย ๆ ซึ่งแต่ละช่วงย่อยก็จะแบ่งออกเป็น 30 ช่วงย่อยลงอีก จากนั้นก็จะแบ่งช่วงดังกล่าวออกในรูปของช่วงสุริยคติ 24 ช่วง โดยแต่ละช่วงยาวนาน 15 ช่วงย่อย

ตัวอย่างเทศกาลตามธรรมเนียมในระบบสุริยคติที่ชาวจีนฉลองในฤดูหนาวก็คือเทศกาลฤดูหนาวหรือ “ตงจื้อ” ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 22 ธันวาคม (บางปีก็อาจเป็นวันที่ 21) ซึ่งก็คือวันที่ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากโลกมากที่สุดในฤดูหนาวนั่นเอง

ปฏิทินจาลาลีที่ชาวเปอร์เชียใช้คือปฏิทินในระบบสุริยคติ จึงถือเป็นปฏิทินสากล (หรือที่ในอดีตเรียกว่าปฏิทินของจูเลียสซีซาร์) ซึ่งเป็นปฏิทินที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลกในปัจจุบัน

จากแง่มุมทางสุริยจันทรคติ (หยินและหยาง)

ชาวจีนเฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลงของกาลเวลาด้วยการผสมผสานทั้งจันทรคติ (หยิน) และสุริยคติ (หยาง) ได้อย่างน่าสนใจ และที่มากกว่านั้นก็คือทำให้เกิดเป็นปฏิทินสุริยจันทรคติ (หยินหยางลี่) ซึ่งก็ขึ้นกับการสังเกตความเคลื่อนไหวจริง ๆ ของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ (รวมทั้งดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ซึ่งคุณจะได้อ่านต่อไป)

การจะทำให้ปีตามระบบจันทรคติและสุริยคติสอดคล้องกันอยู่เสมอนั้น จะต้องมี “เดือนอธิกสุรทิน) เพิ่มขึ้นมาเพื่อให้เกิด “ปีแห่งการข้ามผ่าน” ตามธรรมเนียมจีน ดังนั้นในปีแห่งการข้ามผ่านจึงมี 13 เดือน (คล้ายกับปีที่เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันนั่นเอง) จึงไม่น่าสงสัยเลยว่าเป็นปฏิทินที่มีวิธีการคิดคำนวณที่ยุ่งยากซับซ้อนมาก ปฏิทินจีนไม่ได้อ้างอิงจากการประมาณตามหลักคณิตศาสตร์เพียงอย่างเดียว

เทศกาลตรุษจีนเป็นตัวอย่างของเทศกาลในระบบสุริยจันทรคติ เนื่องจากเทศกาลนี้จะจัดขึ้นในวันที่กำหนดจากการพบกันครึ่งทางระหว่างช่วงในระบบจันทรคติและช่วงในระบบสุริยคติ การกำหนดวันตรุษจีนมีกฎเกณฑ์อยู่ 2-3 ประการด้วยกันคือ 1 ควรจะเป็นวันขึ้นหนึ่งค่ำครั้งที่ 2 หลังจากผ่านพ้นวันที่ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากโลกมากที่สุดในฤดูหนาวมาแล้ว 2. ควรจะเป็นวันขึ้น 1 ค่ำที่ใกล้กับวัน “หลีชุน” (จุดเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ) ตามระบบสุริยคติ 3. ควรจะเป็นวันขึ้น 1 ค่ำครั้งแรกหลังจากผ่านช่วง “ต้าหัน” (ความเหน็บหนาวสูงสุด) ตามระบบสุริยคติมาแล้ว

ปฏิทินของชาวบาบิโลน ปฏิทินฮิบรู และปฏิทินฮินดูล้วนเป็นปฏิทินในระบบสุริยจันทรคติทั้งสิ้น

จากแง่มุมของดาวพฤหัสบดี

การควบคุมดูแลดาวอื่น ๆ ในจักรวาล (เช่น ดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ ฯลฯ) นอกจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นถึงความสลับซับซ้อนของปฏิทินจีนได้เป็นอย่างดี ในที่นี้ การสำรวจวงโคจรของดาวพฤหัสบดียังแสดงให้เห็นแง่มุมทางวิทยาศาสตร์ของการปฏิบัติตามหลักฮวงจุ้ยและโหราศาสตร์จีนอีกด้วย เมื่ออ่านต่อไป คุณจะได้ค้นพบสาเหตุที่อยู่เบื้องหลังการสังเกต “ดาวที่มีอิทธิพล” ต่อฮวงจุ้ยประจำปีหรือที่รู้จักกันในนามดาวราหู

ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 5 และเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยจักรวาลเท่าที่มีการค้นพบมา ดาวพฤหัสบดีมีขนาดใหญ่กว่าดาวโลกมากกว่าหนึ่งพันเท่า ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวที่มีความสว่างเป็นอันดับที่ 3 บนท้องฟ้า เมื่อมองจากโลก ดาวพฤหัสบดีจะเคลื่อนที่ในทิศทางตรงข้ามกับทิศทางการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้นักดาราศาสตร์พบว่าโลกไม่ใช่จุดศูนย์กลางของการเคลื่อนไหวในระบบสุริยจักรวาล

นักดาราศาสตร์จีนสังเกตพบว่าดาวพฤหัสบดีโคจรรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบใช้เวลา 12 ปี ดังนั้นหนึ่งรอบ 12 ปีจึงมีความสัมพันธ์กับก้านดิน 12 ก้านหรือ 12 นักษัตรในจักรราศีจีนนั่นเอง กำหนดให้ปีชวดเป็นปีแรกในรอบวงโคจรของดาวพฤหัสบดี และปีกุนเป็นปีที่ 12 หรือปีสุดท้ายในรอบวงโคจรของดาวพฤหัสบดี

ชาวจีนเรียกดาวพฤหัสบดีว่า “สุ่ยซิง” หรือพระผู้เป็นเจ้าประจำปี ตำแหน่งของดาวพฤหัสบดียังเป็นตัวกำหนดทิศสถิตของดาวราหูหรือไท่ซุ่ยในปีนั้น ๆ ด้วย ผู้เชี่ยวชาญศาสตร์ฮวงจุ้ยจะระมัดระวังไม่ให้หันหน้าไปเผชิญกับดาวราหูเด็ดขาด เนื่องจาก “ท่าน” เป็นเสมือนอุปสรรคที่ไม่มีทางเอาชนะได้ เนื่องจากมีขนาดใหญ่โตมโหฬาร (ใหญ่กว่าโลกมากกว่า 1000 เท่า!) คำแนะนำนี้จึงถือเป็นคำแนะนำที่ดีมากทีเดียว

Related post

  1. คนในบ้านป่วยแก้ได้ด้วยหลักฮวงจุ้ย

    ฮวงจุ้ย

    คนในบ้านป่วยแก้ได้ด้วยหลักฮวงจุ้ย

    บางทีการที่คนในบ้านป่วยและไม่ยอมหา…

  2. 8 เทพแห่งความมั่งคั่งอยากรวยไม่ควรพลาด

    ฮวงจุ้ย

    8 เทพแห่งความมั่งคั่งอยากรวยไม่ควรพลาด

    ครอบครัวคนจีนตามธรรมเนียมมักจะตั้ง…

  3. ความหมายของเลขบัตรประชาชน 13 หลัก

    ฮวงจุ้ย

    ความหมายของเลขบัตรประชาชน 13 หลัก

    แม้ว่าวิชาคณิตศาสตร์จะมีสูตร มีก…

  4. เลือกของขวัญคริสต์มาสตามหลักฮวงจุ้ย

    ฮวงจุ้ย

    เลือกของขวัญคริสต์มาสตามหลักฮวงจุ้ย

    ใกล้คริสต์มาสแล้วถ้ายังเลือกของขวัย…

  5. 5 ผลไม้มงคลเสริมดวงเรื่องลูกตามหลักฮวงจุ้ย

    ฮวงจุ้ย

    5 ผลไม้มงคลเสริมดวงเรื่องลูกตามหลักฮวงจุ้ย

    สัญลักษณ์แห่งความโชคดีสำหรับความอุ…

โพสต์ที่แนะนำ

  1. ตั้งชื่อลูกชาย กับ 100 ชื่อความหมายดี แข็งแกร่ง อ่อนโยน แต่ไม่อ่อนแอ
  2. ตั้งชื่อลูกสาวเพราะๆ กับ 100 รายชื่อไพเราะเพราะพริ้งแบบไทยๆพร้อมความหมาย
  3. ตั้งชื่อลูกพร้อมความหมายโดนๆทั้งชื่อลูกชาย-ชื่อลูกสาวพร้อมเทคนิคที่ควรรู้
  4. ฝันเห็นจระเข้ ทำนายฝัน
  5. ฝันว่าท้องหรือฝันเห็นคนท้อง หมายถึงอะไร ดีหรือร้าย พร้อมเลขเด็ดแทงหวยแม่นๆ
  6. ฝันเห็นนกหมายถึงอะไร ดีหรือร้าย พร้อมเลขเด็ดแม่นๆ 2/2
  7. ฝันว่าแต่งงาน ทำนายฝัน
  8. ฝันเห็นเด็ก หรือ ฝันเห็นทารก ทำนายฝัน
  9. ฝันเห็นนกหมายถึงอะไร ดีหรือร้าย พร้อมเลขเด็ดแม่นๆ
  10. ฝันเห็นงูกัด เลขอะไร ทำนายฝันงูกัดแม่นๆ
  1. 10 ของแต่งบ้านเสริมฮวงจุ้ย 2566
  2. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564
  3. ฝันว่าท้อง ฝันเห็นคนท้อง ทำนายฝัน
  4. ฝันว่าแต่งงาน ฝันว่าไปงานแต่งงาน
  5. ฝันว่าคลอดลูก ฝันว่าคลอดลูกสาว
  6. ฝันว่าคลอดลูก ฝันว่าคลอดลูกสาว
  1. ฝันเห็นไฟไหม้บ้าน หมายถึงอะไร ดีหรือร้าย พร้อมเลขเด็ดแทงหวยแม่นๆ

    ทำนายฝัน

    ฝันเห็นไฟไหม้บ้าน หมายถึงอะไร ดีหรือร้าย…
  2. ฝันเห็นงูใหญ่ หมายถึงอะไร ดีหรือร้าย พร้อมเลขเด็ดแทงหวยแม่นๆ

    ทำนายฝัน

    ฝันเห็นงูใหญ่ หมายถึงอะไร ดีหรือร้าย พร้…
  3. ฮวงจุ้ยบ้าน ต้องรู้หากอยากอยู่แล้วรวย

    ฮวงจุ้ย

    ฮวงจุ้ยบ้าน ต้องรู้หากอยากอยู่แล้วรวย
  4. ฝันเห็นญาติพี่น้อง หมายถึงอะไร ดีหรือร้าย พร้อมเลขเด็ดแทงหวยแม่นๆ

    ทำนายฝัน

    ฝันเห็นญาติพี่น้อง หมายถึงอะไร ดีหรือร้า…
  5. ความหมายของเลขบัตรประชาชน 13 หลัก

    ฮวงจุ้ย

    ความหมายของเลขบัตรประชาชน 13 หลัก
PAGE TOP